๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐

sequence

แบบทดลองที่สาม
เนื่องจากขั้นตอนการติดตาคือการนำตาของต้นพันธุ์มาติดบนต้นตอเพื่อให้เนื้อเยื่อสมานกันได้ จากหลักการนี้เลย จึงนำลักษณะการเชื่อมคำโดยที่มีรูปสระ
(โครงสร้างคำ)เหมือนกัน เพื่อให้คำที่นำมาต่อมีความต่อเนื่อง โดยที่เรื่องที่นำมาต่อไม่ใช่เรื่องเดียวกัน แต่อาศัยหลักการเชื่อม(link)ในรูปของโครงสร้างสระ
เมื่อเชื่อมแล้วก็ได้คำในความหมายใหม่
สระมี ๓๒ เสียง
สระเดี่ยว(สระที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเพียงส่วนเดียว)
สระประสม(สระที่เกิดจากการ เคลื่อนไหวของลิ้นทั้งส่วนหน้า - กลางและหลัง ทำให้รูปริมฝีกปากเปลี่ยนไป)
สระเกิน(สระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่)

สระเดี่ยว
๑. อะ ๒. อา ๓.อิ ๔. อี ๕. อึ ๖. อือ(เมื่อใช้สระอือ ต้องมี อ ตามหลัง) ๗.อุ ๘. อู ๙. เอะ ๑๐. เอ ๑๑. แอะ ๑๒. แอ ๑๓. โอะ ๑๔. โอ ๑๕. เอาะ ๑๖.ออ
๑๗. เออะ ๑๘. เออ

สระประสม
๑๙.. อัวะ
๒๐. อัว
๒๑. เอียะ
๒๒. เอีย
๒๓. เอือะ
๒๔. เอือ

สระเกิน
๒๕. อำ ๒๖. ใอ ๒๗. ไอ ๒๘. เอา ๒๙. ฤ ๓๐. ฤๅ ๓๑. ฦ ๓๒. ฦา

เช่น เริ่มจาก ต้นไม้ -ไส้ดินสอ -หลอดน้ำ-ลำธาร-ห่านขาว-ดาวตก-นกเขา-เตาไฟ-ไม้ซุง-ทุ่งนา-อาหาร-จานกระเบื้อง-เครื่องประดับ-ทรัพย์สิน
จากคำเหล่านี้นำมาทำเป็นเรื่องต่อกัน โดยทำเป็นหนังสือที่ใช้การ binding ต่อกันเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวลิงค์