๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

Charter 6

ในความคิดนี้จะยังพูดถึงเรื่องสุนทรียะของอาหารอยุ่ค่ะ โดยนุ่นมองในความรู้สึกของคนที่ชอบเรื่องอาหารการกิน คนที่ชอบกินอาหารต่างๆ พวกนี้เค้าจะมีความสุขกับการกินประมาณว่า enjoy eating อันนี้คิดแบบสนุกๆหน่อยค่ะ คือจะนำเสนอข้อมูลจะมี function คล้ายกับ diaryมีไว้สำหรับคนที่ชอบและรักการกิน เหมือนเป็นคู่มือพกพา เช่น เป็นการนำข้อมูลทางโภชนาการมาใช้ในการตรวจเช็คว่าในหนึ่งวันเรากินอะไรไปบ้างโดยจะใช้ข้อมูลมาตราวัดใน charter 2 ในนั้นอาจจะมีปฎิทินเทศกาลอาหารประจำปี ข้อมูลทางโภชนาการเกี่ยวอาหาราอย่างคร่าวๆ การบอกวิธีการดูแลสุขภาพ หรืออะไรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ความสุขที่มาพร้อมกับอาหาร ค่ะ

chapter 5

เรื่องอาหารที่คุยครั้งที่แล้วค่ะ ทำให้นุ่นมานึกว่าอาจลองเปลี่ยนความหมายจากเดิมเรื่องก๋วยเตี๋ยวไปบ้างมาคิดในมุมอื่นดู ก็ได้มาว่า จากการที่ทำการหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาหารจาก chartข้างล่างว่ามีอะไรบ้างที่นึกถึงก็มา เห็นความสัมพันธ์ของอาหารกับเวลา ซึ่งมีได้หลายแง่ตั้งแต่เรื่องการกิน 3มื้อ ระยะเวลาในการปรุงอาหาร วันเวลาผลิตกับหมดอายุ ระยะการเผาผลาญของอาหารที่มีระยะเวลาประมาณ3-4 ชม. เป็นต้น ตรงนี้เลยทำให้มานึกถึงเรื่องเวลาการเดินทางของอาหารไทย นุ่นมองภาพออกมาเป็น chart ของอาหารในปีต่างๆตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งล้วนแต่มีความเป็นไปในการทำอาหารเรื่อยมา ในจุดนี้นุ่นมองเห็นถึงความสุนทรียะของอาหารที่มีมาแต่ก่อน การที่เกิดเป็นอาหารร่วมสมัย การประณีต ประดิดประดอยการทำอาหาร รวมทั้งสะท้อนความเป็นมาแบบไทยเรา จนมาถึงปัจจุบัน เป็นการรวบรวมเหตุการณ์เกี่ยวกับวิถีอาหารไทยมาจนถึงปัจจุบัน ค่ะ

chapter 4

ลองหาสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับอาหารดูบ้าง


๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

Chapter 3

เมื่อได้เนื้อหาเรื่องข้อมูลค่าพลังงานมาแล้วนั้นก็จะลองมาจัดเรียงในรุปแบบของตาราง โดยจะมีการนับเป็นทัพพีและช้อนกินข้าวในกลุ่มอาหารต่างๆ ซึ่งจะมีค่าตั้งแต่ครึ่งทัพพีเป็นต้นไป




ตรงนี้จะเป็นตารางที่ไว้ใส่บันทึกว่า ในหนึ่งเรากินอะไรไปบ้างในแต่ละมื้อเป็นการรวมเพื่อคิดออกมาเป็นแคลอรี่



๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

food

ความเดิมครั้งที่แล้วค่ะ ที่ว่ามาพูดถึงเรื่องพลังงาน(แคลอรี่)ของอาหารที่ได้รับ จากตรงนี้ ลองคิดในมุมกลับกันว่าอันเก่าคือเราเห็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงคุณค่าก่อนที่เราจะกินเข้าไปก่อนแล้ว มากลับกันที่ว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วจะมีวิธีการเช็คอย่างไรว่ากินได้ทั้งหมดกี่แคลอรี่ ซึ่งทำให้ดูเหมือนเป็นการทำ memory diary ในแต่ละวันที่เป็นการเช็คดูอย่างคร่าวๆ
นุ่นเลยมาศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณหาพลังงานแคลอรี่จะได้ว่า
มีการใช้มาตราตวงวัดเป็นหน่วยครัวเรือนเช่น ทัพพี ช้อนกินข้าว เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ
หน่วยวัดที่เป็นทัพพี
ใช้บ่งบอกจำพวก ข้าว-แป้ง 1ทัพพี เท่ากับ 60 กรัม
ผักสุก 1ทัพพี เท่ากับ 40 กรัม
หน่วยวัดช้อนกินข้าว
ใช้บ่งบอกจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อสุก 1ช้อนกินข้าว เท่ากับ 15กรัม
หน่วยวัด 1 ส่วน
ใช้บ่งบอกการนับผลไม้
ถ้าเป็นผลเล็ก ให้นับเป็นลูก ส้ม 1 ส่วน เท่ากับ 1ผลเล็ก
ถ้าเป็นผลใหญ่ หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 6-8 ชิ้น เท่ากับ 1ส่วน เช่น แตงโม มะละกอ สัปปะรด

food

การ survey ในเรื่องฉลากสินค้าบริโภค พบว่า
1.ส่วนหนึ่งนั้นจะใช้รูปตามความหมายที่มีอยู่เลย



2.มีการใช้สัญลักษณ์ควบคู่ไปด้วยกันกับความหมาย
2.1 จะใช้รูปวงกลม วงรี แทน วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารทางเคมี ที่มีคุณประโยชน์
2.2 ใช้สัญลักษณ์อื่นบอกความหมายโดยนัย




๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๐

Final

Budding project
งานนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีการติดตา และอยู่ในความหมายของ sequence ที่ว่าเป็นการเชื่อมประสานกันระหว่างส่วนต่างๆของพืช เพื่อต้องการให้พืชเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะทำใหต้นไม้มีความหลากหลายลักษณะอยุ่ต้นเดียวกัน และวิธีการติดตานั้น จะใช้วิธีการทาบส่วนที่เป็นตา(Budding)ของต้น จากวิธีการตรงนี้เลยนำมาสู่ชิ้นงานแรกคือ
การซ้อนทับของ layer รูปทรงเรขาคณิต เพื่อดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าทำให้เกิดรูปทรงใหม่ๆขึ้นอาจเป็นเหมือน pattern หนึ่งและยิ่งเมื่อซ้อนทับกันมากขึ้นยิ่งทำให้เกิดความหลากหลายรูปทรงที่ยังคงมาจากรูปทรง basic







จากตรงนี้พัฒนาขึ้นโดยทำเป็นหนังสือขึ้นมา ซึ่งลองใช้material ที่หลากหลาย





ต่อมาพัฒนามาเป็น Template เพื่อตอบปัญหาในเรื่องการจัดวางองค์ประกอบ ขนาดสัดส่วนของภาพที่ดูเหมือนแล้วน่าจะมีความหมาย ในการทำ template ครั้งนี้ทำให้เริ่มคิดหัวข้อของงาน จึงได้คำว่า สังคม มาซึ่งมองดูว่าสังคมนั้นมีความซับซ้อน การเชื่อมประสานกันระหว่างสิ่งแวดล้อมต่างๆเพื่อเจริญไปเป็นสังคมหนึ่งๆ ซึ่งคล้ายกับวิธีการติดตาต้นไม้ และให้คำจำกัดความของงานนี้เป็นเรื่อง สังคมเมือง ซึ่งมีการเชื่อมประสาน ซับซ้อนกันของสิ่งหลายสิ่ง





แบ่งตัวงานออกเป็น
1. Poster
2. Planning Template
3. Sticker book
4. Pencil
5. Postcard





แนวความคิด Poster เริ่มจากมองดูความสัมพันธ์ของโครงสร้างสังคมว่ามีอะไรบ้าง แล้วจากนั้นก้มาจัดกระบวนการว่าจะยกเรื่องที่ใกล้ๆตัวมาพูด ซึ่งจะยกเอาสถานที่ สถานการณ์ ที่พบเจอได้บ่อยๆ คือ บนถนน ,สถานที่มีกิจกรรมนันทนาการ,ห้างสรรพสินค้า โดยหาองค์ประกอบว่าเราพบเจออะไรบนสถานที่เหล่านั้นบ้าง เมื่อ list รายชื่อมาแล้วก็นำมาสร้างในลักษณะที่เป็นภาพ icon โดยนำรูปแบบที่ได้จากการทำ Template เพื่อให้เกิดเห็นว่าในสังคมหนึ่งนั้นมีการเชื่อมประสาน ประกอบกันของสิ่งแวดล้อมอะไรบ้าง



Sticker book


สำหรับ Postcard อยู่ใน concept ที่ว่าเป็นการเรียงลักษณะเหมือนเกมจับคำโดยมีตัวให้เลือก เป็นสิ่งของในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันให้คนลองจับกลุ่มในความหมายของแต่ละคนเอาเอง มีความหมายเพื่อต้องการให้ลองเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของสังคม


Display

๐๓ ตุลาคม ๒๕๕๐

Poster






๑๗ กันยายน ๒๕๕๐

template

poster ของ city life จะใช้ theme ในเรื่องความซับซ้อน วุ่นวายของสังคมเมือง ความหนาแน่น ของชีวิตความเป็นอยู่ ตั้งแต่ ประชากร ระบบขนส่ง ระบบการสื่อสาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกซ่อนอยู่ภายใน poster นี้ลองใช้แค่ลายเส้นกับโทนสีเทา ดำดูค่ะ









































๑๐ กันยายน ๒๕๕๐

sequence

เพิ่มเติม