๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence

จากครั้งที่แล้วมาพูดกันถึงเรื่อง template จีงลองนำเอาไม้บรรทัด template มาลองสร้างดูโดยกำหนด theme ว่าเป็นเรื่องของ เมือง
โดยจะแบ่งเป็น

๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence




๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence

สังเกตเ็ห็นว่า โครงสร้างสังคมประกอบไปด้วย สถาบับนครอบครัว สถาบันการปกครอง สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันนันทนาการ สังคมเกิดขึ้นและมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการรวมกลุ่มกัน มีการปะติดปะต่อกันตลอด คนหนึ่งคนเมื่อมีการพบปะกับคนในสังคมอื่นก็จะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆและจะเป็นกลุ่มคนใหม่ๆ







sequence

ภาพทดลองกระดาษไข กับ พลาสติกใส








sequence

ตอนที่สอง 0rigami สนใจเรื่องการพับกระดาษ มองเห็นการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ และรอยที่มีการพับเพิ่มขึ้นเหมือนกับเป็นการรวมใหม่เพื่อเกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นมา จากกระดาษแผ่นเดิมสี่เหลี่ยมเิกิดรอยพับเพื่อแตกพื้นที่ออกไปอีกแล้วรวมเข้ากันใหม่กลายเป็นรูปทรงอื่นๆ









๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence

ตอนที่สาม
มาลองดูเรื่องสังคม สังเกตเ็ห็นว่า โครงสร้างสังคมประกอบไปด้วย สถาบันครอบครัว สถาบันการปกครอง สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันนันทนาการ สังคมเกิดขึ้นและมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากการรวมกลุ่มกัน มีการปะติดปะต่อกันตลอด คนหนึ่งคนเมื่อมีการพบปะกับคนในสังคมอื่นก็จะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆและจะเป็นกลุ่มคนใหม่ๆ

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence







๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence

ทำการทดลองกระดาษ
ทดลองทำดูว่ากระดาษแต่ละแบบจะให้ความรู้สึก มิติ ที่ต่างกัน หรือไม่เมื่อนำมาซ้อนกันเป็น layer
1.กระดาษธรรมดา
2.แผ่นพลาสติกใส
3.กระดาษไข

sequence

ตอนที่ 1 (ต่อ)
จากที่กำหนดในเรื่องว่าเปรียบต้นไม้เป็นบ้านที่สัตว์อยู่ จึงไปหาสัตว์ที่ใช้เป็นแหล่งอาศัย โดยเห็นว่าเป็นการเพิ่มเข้าไปจากเดิม ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งสองอย่างแต่ต่างกันด้วยสายพันธุ์ระหว่างสัตว์กับพืช โดยที่ทั้งสองก็มีความสัมพันธ์กัน เหมือนกับว่าเป็นการเพิ่มสีสันความมีชีวิตให้กับต้นไม้จากตรงนี้จะได้ว่าสัตว์นั้นจะพบได้ทั่วต้นไม้ โดยแบ่งได้ 3 ส่วน ส่วนบน กลาง และล่างของต้น และลิงค์ตำแหน่งของหน้าต่างๆด้วยตำแหน่งที่พบสัตว์นั้นๆ


๐๗ สิงหาคม ๒๕๕๐

sequence

อธิบายเกี่ยวกับเปลือกเรื่องติดตา ตอนที่หนึ่ง
จากการทดลองนั้นสรุปได้ว่า เป็นการนำรูปร่าง ( shape)มาทับซ้อนกันจนเกิดเป็น เลเยอร์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นโดยเป็นการแตกออกเพื่อรวม จากคำที่ว่าแตกออกเพื่อรวม จึงเปรียบได้กับว่า เหมือนมีขนมปังหนึ่งแผ่นที่ถูกแบ่งออกเป็นสอง แล้วนำมาประกบกันใหม่เกิดเป็นแซนวิซขึ้นมา จากเรื่องเดิมที่ว่าโครงสร้างต้นไม้นั้นถูกดัดแปลงมาเป็นโครงสร้างทางข้อมูล จึงเห็นว่าเรื่องที่นำมาใส่โครงนั้นก็น่าจะมีความหมายหรือ theme ของเรื่องให้มีความสัมพันธ์ในลักษณะโครงสร้างข้อมูล ที่จะมีแกนสำคัญของเรื่องอยู่ โดยมีกิ่งที่แตกออกมาเป็นเสมือนตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับแกน จากที่มาดูเรื่ององค์ประกอบและหน้าที่ส่วนต่างๆของต้นไม้ ทำให้นึกเปรียบกับ บ้าน เป็นแกนสำคัญของเรื่อง จากตรงนี้จึงนำคำว่า บ้าน (ที่อยู่อาศัย) มาเป็นแกนเรื่องโดยเลือกจับกลุ่มความสัมพันธ์ที่ว่าสัตว์บนโลกย่อมต้องการที่อยู่อาศัย โดยเห็นว่าในต้นไม้นั้นก็เป็นที่ ที่สัตว์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ในจุดต่างๆบนต้นไม้ จากตรงนี้ทำให้ค้นหาว่าสัตว์จำพวกใดบ้างที่ใช้ต้นไม้เป็นที่อาศัยพักพิง โดยสนใจเอาลักษณะรูปร่าง ลวดลาย ของที่อยู่อาศัยของสัตว์แต่ละจำพวกมาโดยรวม มาผสมผสานในลักษณะใหม่ โดยกำหนดตำแหน่งบนต้นไม้ที่สัตว์เหล่านั้นอาศัยอยู่