๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

Charter 6

ในความคิดนี้จะยังพูดถึงเรื่องสุนทรียะของอาหารอยุ่ค่ะ โดยนุ่นมองในความรู้สึกของคนที่ชอบเรื่องอาหารการกิน คนที่ชอบกินอาหารต่างๆ พวกนี้เค้าจะมีความสุขกับการกินประมาณว่า enjoy eating อันนี้คิดแบบสนุกๆหน่อยค่ะ คือจะนำเสนอข้อมูลจะมี function คล้ายกับ diaryมีไว้สำหรับคนที่ชอบและรักการกิน เหมือนเป็นคู่มือพกพา เช่น เป็นการนำข้อมูลทางโภชนาการมาใช้ในการตรวจเช็คว่าในหนึ่งวันเรากินอะไรไปบ้างโดยจะใช้ข้อมูลมาตราวัดใน charter 2 ในนั้นอาจจะมีปฎิทินเทศกาลอาหารประจำปี ข้อมูลทางโภชนาการเกี่ยวอาหาราอย่างคร่าวๆ การบอกวิธีการดูแลสุขภาพ หรืออะไรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ความสุขที่มาพร้อมกับอาหาร ค่ะ

chapter 5

เรื่องอาหารที่คุยครั้งที่แล้วค่ะ ทำให้นุ่นมานึกว่าอาจลองเปลี่ยนความหมายจากเดิมเรื่องก๋วยเตี๋ยวไปบ้างมาคิดในมุมอื่นดู ก็ได้มาว่า จากการที่ทำการหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาหารจาก chartข้างล่างว่ามีอะไรบ้างที่นึกถึงก็มา เห็นความสัมพันธ์ของอาหารกับเวลา ซึ่งมีได้หลายแง่ตั้งแต่เรื่องการกิน 3มื้อ ระยะเวลาในการปรุงอาหาร วันเวลาผลิตกับหมดอายุ ระยะการเผาผลาญของอาหารที่มีระยะเวลาประมาณ3-4 ชม. เป็นต้น ตรงนี้เลยทำให้มานึกถึงเรื่องเวลาการเดินทางของอาหารไทย นุ่นมองภาพออกมาเป็น chart ของอาหารในปีต่างๆตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งล้วนแต่มีความเป็นไปในการทำอาหารเรื่อยมา ในจุดนี้นุ่นมองเห็นถึงความสุนทรียะของอาหารที่มีมาแต่ก่อน การที่เกิดเป็นอาหารร่วมสมัย การประณีต ประดิดประดอยการทำอาหาร รวมทั้งสะท้อนความเป็นมาแบบไทยเรา จนมาถึงปัจจุบัน เป็นการรวบรวมเหตุการณ์เกี่ยวกับวิถีอาหารไทยมาจนถึงปัจจุบัน ค่ะ

chapter 4

ลองหาสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับอาหารดูบ้าง


๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

Chapter 3

เมื่อได้เนื้อหาเรื่องข้อมูลค่าพลังงานมาแล้วนั้นก็จะลองมาจัดเรียงในรุปแบบของตาราง โดยจะมีการนับเป็นทัพพีและช้อนกินข้าวในกลุ่มอาหารต่างๆ ซึ่งจะมีค่าตั้งแต่ครึ่งทัพพีเป็นต้นไป




ตรงนี้จะเป็นตารางที่ไว้ใส่บันทึกว่า ในหนึ่งเรากินอะไรไปบ้างในแต่ละมื้อเป็นการรวมเพื่อคิดออกมาเป็นแคลอรี่



๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

food

ความเดิมครั้งที่แล้วค่ะ ที่ว่ามาพูดถึงเรื่องพลังงาน(แคลอรี่)ของอาหารที่ได้รับ จากตรงนี้ ลองคิดในมุมกลับกันว่าอันเก่าคือเราเห็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงคุณค่าก่อนที่เราจะกินเข้าไปก่อนแล้ว มากลับกันที่ว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วจะมีวิธีการเช็คอย่างไรว่ากินได้ทั้งหมดกี่แคลอรี่ ซึ่งทำให้ดูเหมือนเป็นการทำ memory diary ในแต่ละวันที่เป็นการเช็คดูอย่างคร่าวๆ
นุ่นเลยมาศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณหาพลังงานแคลอรี่จะได้ว่า
มีการใช้มาตราตวงวัดเป็นหน่วยครัวเรือนเช่น ทัพพี ช้อนกินข้าว เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ
หน่วยวัดที่เป็นทัพพี
ใช้บ่งบอกจำพวก ข้าว-แป้ง 1ทัพพี เท่ากับ 60 กรัม
ผักสุก 1ทัพพี เท่ากับ 40 กรัม
หน่วยวัดช้อนกินข้าว
ใช้บ่งบอกจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อสุก 1ช้อนกินข้าว เท่ากับ 15กรัม
หน่วยวัด 1 ส่วน
ใช้บ่งบอกการนับผลไม้
ถ้าเป็นผลเล็ก ให้นับเป็นลูก ส้ม 1 ส่วน เท่ากับ 1ผลเล็ก
ถ้าเป็นผลใหญ่ หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 6-8 ชิ้น เท่ากับ 1ส่วน เช่น แตงโม มะละกอ สัปปะรด

food

การ survey ในเรื่องฉลากสินค้าบริโภค พบว่า
1.ส่วนหนึ่งนั้นจะใช้รูปตามความหมายที่มีอยู่เลย



2.มีการใช้สัญลักษณ์ควบคู่ไปด้วยกันกับความหมาย
2.1 จะใช้รูปวงกลม วงรี แทน วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารทางเคมี ที่มีคุณประโยชน์
2.2 ใช้สัญลักษณ์อื่นบอกความหมายโดยนัย